วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

รางจืด


ปัจจุบันนี้ ปัญหาสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้มีจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นผลให้ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ในภายหลัง
การล้างพิษสามารถทำได้โดยการกินอาหารที่มีแอนติออกซิแดนต์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระให้มาก เช่น ผัก ผลไม้ ผักใบเขียวๆ มะละกอ แครอต ตำลึง ฯลฯ สมัยก่อนชาวบ้านมักจะเชื่อว่า รางจืด, ว่านจืด, ข่าจืด ช่วยล้างพิษได้ แต่ที่นิยมมากที่สุดขณะนี้คือ รางจืด สรรพคุณรางจืดตามตำรายาไทยกล่าวไว้ว่า "รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ใช้แก้พิษเบื่อเมาเนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อประเภทยาสั่ง v สำหรับคนที่เป็นนักดื่มสุราย่อมรู้ดีว่ารางจืดช่วยถอนพิษสุราได้ สิ่งที่ยอมรับคือ หากดื่มสุราจัดเกินขนาดแล้วเกิดอาการเมาค้าง รางจืดช่วยถอนอาการเมาค้างได้แน่ นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังแจ้งผลการใช้มาว่าแก้พิษได้อีกหลายอย่าง เช่น สุนัขโดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาได้ โดยเจ้าของคั้นน้ำรางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยาก็มักแก้ด้วยรางจืดเช่นกัน v รางจืด เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษเคมี พิษเบื่อเมา พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ไข้ร้อนใน ฯลฯ ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใบชา หรือถุงชาในแพ็กเกจสวยหรูดูดี และยังทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป ซึ่งเป็นของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ราคาย่อมเยา สามารถชงดื่มได้ทันที ใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้งหอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ
ชารางจืดไม่มีพิษ ดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน ใบสดนำมาคั้นกับน้ำเพื่อให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลงดื่ม เป็นการปฐมพยาบาลก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกันก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง ในทางกลับกันสมุนไพรรางจืดนี้ซึ่งหาได้ง่ายในแถบชนบทอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถนำใบรางจืดมาต้มทำเป็นชารางจืด ดื่มแทนน้ำธรรมดาเพื่อให้ทำลายและขับพิษสารเคมีไม่ให้ตกค้างในร่างกาย โดยพิษของยากำจัดศัตรูพืชจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
สำหรับความเชื่อในวงเหล้า ที่นำรางจืดมาเคี้ยวเพื่อดับฤทธิ์เอทิลแอลกอฮอล์ เพื่อทำให้ดื่มได้นานไม่เมานั้น ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อนและไม่แนะนำให้ปฏิบัติด้วย เพราะสุดท้ายเมื่อเหล้าเข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปทำลายอวัยวะที่เป็นทางผ่านทั้งหมดและทำลายที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนักที่สุด ตับจึงได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันไปเกาะแทนที่ ทำให้เกิดตับอักเสบเนื่องจากการคั่งของไขมัน ทำให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นไปอีก และเมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่ง ก็จะมีพังผืดไปขึ้นที่บริเวณนั้นลักษณะคล้ายแผลเป็น ส่งผลให้เนื้อตับที่เคยอ่อนนุ่มกลับแข็งตัวขึ้น เกิดอาการตับแข็งได้ในที่สุด โอกาสเสียชีวิตมีเร็วขึ้น

รางจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia lauriflolia Linn. โดยมีชื่ออื่นว่า ยาเขียว, เครือเขาเขียว, กำลังช้างเผือก, หนามแน่, ย้ำแย้, น้ำนอง, คาย, ดุเหว่า, รางเย็น, ทิดพุด, แอดแอ, ขอบชะนาง
วิธีใช้ :

ใบรางจืดที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป โขลกให้แหลกผสมน้ำซาวข้าว คั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำใบรางจืดมาหั่นฝอย ผึ่งลมให้แห้ง ใช้ชงน้ำร้อนดื่ม

รากรางจืด (อายุ 2 ปีขึ้นไป) นำมาโขลก/ฝน ผสมน้ำซาวข้าวใช้ดื่ม หรือนำรากรางจืดมาหั่นฝอย ผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผง บรรจุแค๊ปซูลหรือทำเป็นเม็ด รับประทานครั้งละ ประมาณ 5 กรัม

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบบัวบก


ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน และยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก
ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ) บราโมไซ บรามิโนไซ มาดิแคสโซไซ(เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไทอะมิน(วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี2) ไพริดอกซิน(วิตามินบี6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ซีริน ทรีโอนีน อลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม
สารไตรเตอพีนอยด์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน(ซึ่งเปรียบเสมือนร่างแหที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ในส่วนต่างๆของร่างกาย และยังเป็นผนังที่หุ้มล้อมรอบหลอดเลือดอีกด้วย) ดังนั้นใบบัวบกจึงสามารถลดความดันเลือดได้เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นเลือด ใบบัวบกจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นเบาหวานเพราะจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนผ่านเส้นเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านเส้นเลือดฝอย จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบวม เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง นอกจากนี้ใบบัวบกทำให้ผิวหนังเต่งตึงและมีความยืดหยุ่นขึ้น ตลอดจนช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นและช่วยในขบวนการหายของแผล เนื่องจากใบบัวบกจะควบคุมไม่ให้เกิดการสร้างคอลลาเจนบริเวณแผลมากจนเกินไป ดังนั้นจึงนิยมนำใบบัวบกไปใช้ในการรักษาแผลต่างๆอาทิเช่น แผลผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง หรือแม้แต่แผลจากโรคเรื้อน
การรับประทานใบบัวบก ไม่ว่าจะเป็นการทานสด เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือคั้นน้ำ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความกังวลและความเครียดได้ เนื่องจากในใบบัวบกประอบด้วยวิตามินบี1,บี2 และบี6 ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายหลั่ง GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในปริมาณที่มากขึ้นด้วย จากการศึกษายังพบว่า การรับประทานใบบัวบกจะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ความจำดีขึ้น และใบบัวบกยังช่วยกำจัดสารพิษซึ่งสะสมในสมองและระบบประสาท ตลอดจนช่วยกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายประเภทโลหะหนักและยาต่างๆได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เล็บมือนาง



ชื่อท้องถิ่น
จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง, อาดอนิง, วะดอนิ่ง, ไท้หม่อง
ลักษณะ
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทา ต้นแก่ลำต้นเกลี้ยงมักมีกิ่งที่เปลี่ยนสภาคล้ายหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนานกว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-16 ซม. ท้องใบมีขนมาก โคนใบหยักเว้าเล็กน้อยปลายใบหยักคอดเป็นติ่งสั้น ๆ ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง เป็นช่อใหญ่ห้อยระย้า ยาว 2-20 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ แรกบานสีขาว เมื่อแก่เป็นสีชมพูและแดงเข้ม โคนกลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว สีเขียว ผลเป็นผลแห้ง รูปกระสวย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม มีสันตามยาว 5 สัน
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ทุกส่วนของลำต้น
สรรพคุณ
ขับพยาธิลำไส้, ตานซาง

หญ้าหนวดแมว


ชื่อท้องถิ่น
พยับเมฆ, นางรักป่า, อีตู่ดง
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มสูง 0.5-1 เมตร กิ่งอ่อนและก้านเป็นสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ลำต้นมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นชิ้น ๆ คล้ายฉัตร มี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยาวพ้นกลีบดอกออกมา มีลักษณะคล้ายหนวดแมว ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ใบและยอดแห้ง
สรรพคุณทางยา
ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคหนองใน

แมงลัก


ชื่อท้องถิ่น
แมงลัก, ก้อมก้อขาว, มังลัก, ผักอีตู่
ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุกทรงพุ่มคล้ายโหระพา สูง 30-80 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-5 ซม. ปลายและโคนแหลม มีกลิ่นหอม ขอบใบเรียวหรือหยักมน ๆ ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 6-10 ซม. ใบประดับจะคงอยู่เมื่อเป็นผล ผลเป็นผลชนิดแห้ง รูปรี ขนาดเล็ก
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ผลแก่แห้ง (ซึ่งมักเรียกว่า เมล็ด) ใบ
สรรพคุณทางยา
ใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก ช่วยขับลม ลดอาการจุกเสียด แน่นท้องแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้รักษากลากน้ำนมที่หน้าเด็ก ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ต้องการลดความอ้วน

มะขาม


มะขาม

ประโยชน์ทางยา

แก่น รสฝาดเมา สรรพคุณกล่อมเสมหะและโลหิตเนื้อมะขาม รสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้แก้ร้อน ขับเสมหะ แก้อาการเบื่ออาหาร ในฤดูร้อนอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงมีครรภ์ และแก้เด็กเป็นตานขโมยแก้ท้องผูก

ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ฟอกโลหิตขับเลือดลมในลำไส้ แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก

เมล็ดแก่ รสฝาดมัน ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก แก้ท้องร่วงและอาเจียนเปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องอืด ท้องแน่น อาหารไม่ย่อย แก้เจ็บปากเจ็บคอ สมานแผลเรื้อรัง
ขนาดวิธีใช้

1. แก้อาการเบื่ออาหารในฤดูร้อน อาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงมีครรภ์ แก้เด็กเป็นตานขโมย ใช้เนื้อมะขาม 15-30 กรัม อุ่นให้ร้อนรับประทาน หรือผสมน้ำตาลทราย เคี่ยวให้ข้น รับประทานได้ทันที

2. รักษาฝีให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับปูนแดงทาที่เป็น

3. เป็นยาขับเลือด ขับลม แก้สันนิบาต ให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับเกลือและข่า

4. น้ำมะขามเปียกคั้นเป็นน้ำข้น ๆ ผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานชามใหญ่ ใช้สำหรับล้างเลือกที่ตกค้างภายในของหญิงหลังคลอดใหม่ ๆ หลังจากที่รกออกมาแล้ว

5. แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก หรือทำให้สดชื่นหลังจากฟื้นไข้ หรือหลังคลอด ใช้ใบมะขามแก่ ต้มรวมกับหัวหอมแดง 2-3 หัว โกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด หรือต้มน้ำอาบหลังคลอดและหลังฟื้นไข้ทำให้สดชื่น

6. แก้ท้องร่วงและอาเจียนใช้เม็ดแก่คั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เมล็ด นำมาแช่เกลือจนอ่อนนุ่ม

7. แก้เจ็บปากเจ็บคอ ใช้เปลือกต้น ผสมเกลือ เผาในหม้อดินจนเป็นเถ้าขาว รับประทานครั้งละ 60-120 มิลลิกรัม และยังใช้เถ้านี้ผสมน้ำอมบ้วนปาก

8. ถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม นำเมล็ดมะขามมาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกนอกออกใช้เล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ด ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วเนื้อในให้เหลืองกระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มแล้วเคี้ยวเช่นถั่ว

9. ยาล้างแผลเรื้อรัง สมานแผล ใช้เปลือกต้น 1 กำมือ ต้มกับน้ำตาล 3 แก้วให้เดือดนาน 20-30 นาที เอาน้ำมาล้างแผล10. แก้ท้องผูก มะขามแกะเอาแต่เนื้อ ปั้นเป็นก้อนโตประมาณนิ้วหัวแม่มือ 2 ก้อน (ธาตุหนังใช้ 3 ก้อน) คลุกกับเกลือป่น แล้วแบ่งเป็นลูกเล็ก ๆ พอกลืนสะดวก กลืนกับน้ำแล้วดื่มน้ำอุ่น ๆ ตามประมาณ 1 แก้ว


ข้อควรระวัง

เนื้อมะขามเปียกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้

มะยม


มะยม


ประโยชน์ทางยา

ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง


ขนาดและวิธีใช้

1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดุ ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น (เปลือกสด) มาต้มเอาน้ำดื่ม

2. เป็นยาบำรุงประสาท ขับเสมหะ ใช้ใบสด ต้มเอาน้ำดื่ม

3. ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง

4. เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ดับพิษเสมหะโลหิต ช่วยขับน้ำเหลือง ใช้รากสดต้มเอาน้ำดื่ม

5. กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุก

6. แก้ไข้หัวต่าง ๆ ให้นำใบสด ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟืองอาบ

7. แก้เม็ดผดผื่นคัน ใช้เปลือกต้น ต้มอาบ


ข้อควรระวังน้ำยางจากเปลือกราก มีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ และง่วงซึม

สะเดา

สะเดา
ชื่ออื่น : สะเรียม, กะเดา,ไม้เดา, เดา (ใต้)


ประโยชน์ทางยาใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย พุพองใบแก่ รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าแมลงสัตรูพืชก้าน รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้รดสีดวงเป็นเม็ดยอด คันในลำคอ บำรุงธาตุลูก รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ ฆ่าแมลงสัตรูพืชลูกอ่อน รสขมปร่า แก้ลมหทัยวาตะ ลมสัตถวาตะ เจริญอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวงแก้ปัสสาวะพิการเปลือกต้น รสฝาดเย็น แก้ท้องเดิน แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้ แก้กษัย แก้ในกองเสมหะแก่น รสขมฝาดเย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้จับสั่น ไข้ตัวร้อน บำรุงโลหิต บำรุงไฟธาตุราก รถขมฝาดเย็น แก้เสมหะจุกคอ แก้เสมหะที่เกาะแน่นในทรวงอก ยาง ใช้ดับพิษร้อน


ขนาดวิธีใช้

1. แก้ไข้จับสั่น ใช้ ก้าน ใบ เปลือก ราก ต้มเข้ายาแก้ไข้

2. แก้ไขหวัด ใช้ก้านสะเดา 15 ก้าน หั่นเป็นท่อนสั้น ๆ (ประมาณ 1 องคุลี) ต้นกับน้ำ 2 แก้ว เคี่ยวสามส่วนเหลือกสองส่วน ดื่มน้ำยาครั้งละ 1/2 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง

3. แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ใช้ใบสะเดาสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มครั้งละ 1/2 แก้ว อาจใส่เกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อย เพื่อกลบรสขม

กระดังงา

กระดังงา
ลักษณะ : รูปลักษณะ ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา


ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

กระเจี๊ยบแดง


ชื่อท้องถิ่น
กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ทั่วไป); ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ); ส้มตะเลงเครง (ตาก); ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะของพืช

เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นสูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบออกสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 5 ซม. ตัวใบรีแหลมอาจมีรอยเว้าลึกแบ่งตัวใบออกเป็น 3 แฉก ดอกสีชมพูอมแดง หลังจากดอกแก่เต็มที่แล้ว กลีบเลี้ยง จะติดกัน สีแดงอมม่วง เนื้อหนากรอบ หักง่าย ห่อหุ้มเมล็ดสีดำ เมล็ดมีจำนวนมาก


ส่วนที่ใช้ทำยา
กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ


สรรพคุณและวิธีใช้
ขับปัสสาวะ- โดยนำเอากลีบเลี้ยงหรือริ้วประดับสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้ 5-10 นาที รินเฉพาะน้ำสีแดงใสดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป