วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เล็บมือนาง



ชื่อท้องถิ่น
จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง, อาดอนิง, วะดอนิ่ง, ไท้หม่อง
ลักษณะ
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทา ต้นแก่ลำต้นเกลี้ยงมักมีกิ่งที่เปลี่ยนสภาคล้ายหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนานกว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-16 ซม. ท้องใบมีขนมาก โคนใบหยักเว้าเล็กน้อยปลายใบหยักคอดเป็นติ่งสั้น ๆ ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง เป็นช่อใหญ่ห้อยระย้า ยาว 2-20 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ แรกบานสีขาว เมื่อแก่เป็นสีชมพูและแดงเข้ม โคนกลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาว สีเขียว ผลเป็นผลแห้ง รูปกระสวย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม มีสันตามยาว 5 สัน
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ทุกส่วนของลำต้น
สรรพคุณ
ขับพยาธิลำไส้, ตานซาง

หญ้าหนวดแมว


ชื่อท้องถิ่น
พยับเมฆ, นางรักป่า, อีตู่ดง
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มสูง 0.5-1 เมตร กิ่งอ่อนและก้านเป็นสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ลำต้นมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นชิ้น ๆ คล้ายฉัตร มี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยาวพ้นกลีบดอกออกมา มีลักษณะคล้ายหนวดแมว ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ใบและยอดแห้ง
สรรพคุณทางยา
ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคหนองใน

แมงลัก


ชื่อท้องถิ่น
แมงลัก, ก้อมก้อขาว, มังลัก, ผักอีตู่
ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุกทรงพุ่มคล้ายโหระพา สูง 30-80 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-5 ซม. ปลายและโคนแหลม มีกลิ่นหอม ขอบใบเรียวหรือหยักมน ๆ ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 6-10 ซม. ใบประดับจะคงอยู่เมื่อเป็นผล ผลเป็นผลชนิดแห้ง รูปรี ขนาดเล็ก
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ผลแก่แห้ง (ซึ่งมักเรียกว่า เมล็ด) ใบ
สรรพคุณทางยา
ใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก ช่วยขับลม ลดอาการจุกเสียด แน่นท้องแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้รักษากลากน้ำนมที่หน้าเด็ก ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ต้องการลดความอ้วน

มะขาม


มะขาม

ประโยชน์ทางยา

แก่น รสฝาดเมา สรรพคุณกล่อมเสมหะและโลหิตเนื้อมะขาม รสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้แก้ร้อน ขับเสมหะ แก้อาการเบื่ออาหาร ในฤดูร้อนอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงมีครรภ์ และแก้เด็กเป็นตานขโมยแก้ท้องผูก

ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ฟอกโลหิตขับเลือดลมในลำไส้ แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก

เมล็ดแก่ รสฝาดมัน ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก แก้ท้องร่วงและอาเจียนเปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องอืด ท้องแน่น อาหารไม่ย่อย แก้เจ็บปากเจ็บคอ สมานแผลเรื้อรัง
ขนาดวิธีใช้

1. แก้อาการเบื่ออาหารในฤดูร้อน อาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงมีครรภ์ แก้เด็กเป็นตานขโมย ใช้เนื้อมะขาม 15-30 กรัม อุ่นให้ร้อนรับประทาน หรือผสมน้ำตาลทราย เคี่ยวให้ข้น รับประทานได้ทันที

2. รักษาฝีให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับปูนแดงทาที่เป็น

3. เป็นยาขับเลือด ขับลม แก้สันนิบาต ให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับเกลือและข่า

4. น้ำมะขามเปียกคั้นเป็นน้ำข้น ๆ ผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานชามใหญ่ ใช้สำหรับล้างเลือกที่ตกค้างภายในของหญิงหลังคลอดใหม่ ๆ หลังจากที่รกออกมาแล้ว

5. แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก หรือทำให้สดชื่นหลังจากฟื้นไข้ หรือหลังคลอด ใช้ใบมะขามแก่ ต้มรวมกับหัวหอมแดง 2-3 หัว โกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด หรือต้มน้ำอาบหลังคลอดและหลังฟื้นไข้ทำให้สดชื่น

6. แก้ท้องร่วงและอาเจียนใช้เม็ดแก่คั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เมล็ด นำมาแช่เกลือจนอ่อนนุ่ม

7. แก้เจ็บปากเจ็บคอ ใช้เปลือกต้น ผสมเกลือ เผาในหม้อดินจนเป็นเถ้าขาว รับประทานครั้งละ 60-120 มิลลิกรัม และยังใช้เถ้านี้ผสมน้ำอมบ้วนปาก

8. ถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม นำเมล็ดมะขามมาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกนอกออกใช้เล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ด ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วเนื้อในให้เหลืองกระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มแล้วเคี้ยวเช่นถั่ว

9. ยาล้างแผลเรื้อรัง สมานแผล ใช้เปลือกต้น 1 กำมือ ต้มกับน้ำตาล 3 แก้วให้เดือดนาน 20-30 นาที เอาน้ำมาล้างแผล10. แก้ท้องผูก มะขามแกะเอาแต่เนื้อ ปั้นเป็นก้อนโตประมาณนิ้วหัวแม่มือ 2 ก้อน (ธาตุหนังใช้ 3 ก้อน) คลุกกับเกลือป่น แล้วแบ่งเป็นลูกเล็ก ๆ พอกลืนสะดวก กลืนกับน้ำแล้วดื่มน้ำอุ่น ๆ ตามประมาณ 1 แก้ว


ข้อควรระวัง

เนื้อมะขามเปียกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้

มะยม


มะยม


ประโยชน์ทางยา

ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง


ขนาดและวิธีใช้

1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดุ ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น (เปลือกสด) มาต้มเอาน้ำดื่ม

2. เป็นยาบำรุงประสาท ขับเสมหะ ใช้ใบสด ต้มเอาน้ำดื่ม

3. ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง

4. เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ดับพิษเสมหะโลหิต ช่วยขับน้ำเหลือง ใช้รากสดต้มเอาน้ำดื่ม

5. กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุก

6. แก้ไข้หัวต่าง ๆ ให้นำใบสด ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟืองอาบ

7. แก้เม็ดผดผื่นคัน ใช้เปลือกต้น ต้มอาบ


ข้อควรระวังน้ำยางจากเปลือกราก มีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ และง่วงซึม

สะเดา

สะเดา
ชื่ออื่น : สะเรียม, กะเดา,ไม้เดา, เดา (ใต้)


ประโยชน์ทางยาใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย พุพองใบแก่ รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าแมลงสัตรูพืชก้าน รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้รดสีดวงเป็นเม็ดยอด คันในลำคอ บำรุงธาตุลูก รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ ฆ่าแมลงสัตรูพืชลูกอ่อน รสขมปร่า แก้ลมหทัยวาตะ ลมสัตถวาตะ เจริญอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวงแก้ปัสสาวะพิการเปลือกต้น รสฝาดเย็น แก้ท้องเดิน แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้ แก้กษัย แก้ในกองเสมหะแก่น รสขมฝาดเย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้จับสั่น ไข้ตัวร้อน บำรุงโลหิต บำรุงไฟธาตุราก รถขมฝาดเย็น แก้เสมหะจุกคอ แก้เสมหะที่เกาะแน่นในทรวงอก ยาง ใช้ดับพิษร้อน


ขนาดวิธีใช้

1. แก้ไข้จับสั่น ใช้ ก้าน ใบ เปลือก ราก ต้มเข้ายาแก้ไข้

2. แก้ไขหวัด ใช้ก้านสะเดา 15 ก้าน หั่นเป็นท่อนสั้น ๆ (ประมาณ 1 องคุลี) ต้นกับน้ำ 2 แก้ว เคี่ยวสามส่วนเหลือกสองส่วน ดื่มน้ำยาครั้งละ 1/2 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง

3. แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ใช้ใบสะเดาสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มครั้งละ 1/2 แก้ว อาจใส่เกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อย เพื่อกลบรสขม

กระดังงา

กระดังงา
ลักษณะ : รูปลักษณะ ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา


ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

กระเจี๊ยบแดง


ชื่อท้องถิ่น
กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ทั่วไป); ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ); ส้มตะเลงเครง (ตาก); ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะของพืช

เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นสูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบออกสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 5 ซม. ตัวใบรีแหลมอาจมีรอยเว้าลึกแบ่งตัวใบออกเป็น 3 แฉก ดอกสีชมพูอมแดง หลังจากดอกแก่เต็มที่แล้ว กลีบเลี้ยง จะติดกัน สีแดงอมม่วง เนื้อหนากรอบ หักง่าย ห่อหุ้มเมล็ดสีดำ เมล็ดมีจำนวนมาก


ส่วนที่ใช้ทำยา
กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ


สรรพคุณและวิธีใช้
ขับปัสสาวะ- โดยนำเอากลีบเลี้ยงหรือริ้วประดับสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้ 5-10 นาที รินเฉพาะน้ำสีแดงใสดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป

ไพล


ชื่อท้องถิ่น
ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ)ว่านไฟ (ภาคกลาง)


ลักษณะพืช
ไพล เป็นไม้ลงหัว มีเหง้าใหญ่ เนื้อสีเหลือง กลิ่นหอม ใบเรียวยาว ปลายแหลม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ อยู่บนก้านช่อดอกที่แทงจากเหง้า


การปลูก
ใช้เหง้าปลูก ชอบดินเหนียวปนทราย ระบายน้ำดี แสงแดดพอควร


ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่จัด


สรรพคุณยาไทย
แก้ฟก บวม เคล็ด ยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดู

ว่านหางจรเข้


ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอัฟริกา เป็นพืชล้มลุก ใบจะงอกขึ้นมาจากดิน ใบหนา รูปร่างยาว ปลายแหลม ริมใบหยักและมีหนาม ผิวใบสีเขียวใส และมีกระสีขาวเมื่อต้น ยังอ่อน ภายในใบมีวุ้นและเมือกมาก ดอกออกจากกลางต้น เป็นช่อ ก้านดอกยาวมากดอก เป็นหลอด ปลายแยก สีส้มแดงออกสีเหลืองหรือสีแดง หรือสีเหลือง มีหลายพันธุ์ ปลูกง่ายโดยใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีบริเวณริมทะเล


ว่านหางจระเข้ วุ้นจากใบ รสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงขมับแก้ปวดศรีษะ ยาสีเหลือง จากใบว่านหางจรเข้ใช้ทำเป็นยาดำ น้ำร้อนลวก โดยเลือกใบว่านที่อยู่ส่วนล่างของต้น เอาวุ้นใสมาพอกบริเวณแผล

น้อยหน่า


น้อยหน่า
น้อยหน่าเป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวติดกับลำต้น ใบรูปรี ปลายแหลม หรือมนดอกเล็ก มี 3 กลีบดอกห้อยลง สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ผลกลม มีตุ่มนูน


น้อยหน่า เป็นผลไม้ รสหวาน มีแป้งมาก ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ใบรักษากลากเกลื้อน และฆ่าเหา น้ำคั้นจากเมล็ดและใบมีฤทธิ์ฆ่าเหา และฆ่าเชื้อโรค

ทับทิม


ทับทิม
ทับทิมเป็นไม้พุ่ม ใบรูปร่างเรียวแคบและขนาดเล็ก ขอบใบเรียบ ดอกมีหลายสี เช่น ขาว แดง ส้ม มีผลกลม ภายในมีเมล็ดมาก คนจีนถือเป็นไม้มงคล โดยเฉพาะทับทิม ดอกขาว ปลูกโดยการตอนกิ่ง และเมล็ด ปลูกได้ทั่วไป
ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้ รสหวาน หรือเปรี้ยวอมหวาน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง รสฝาด เป็นยาฝาดสมาน เปลือกทับทิมรสฝาด แก้อาการท้องร่วง ใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและบิด ใช้รักษานำกัดเท้า รากเป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด

ฝักเพกา


ชื่ออื่นๆ - ลิ้นฟ้า , หมากลิ้นช้าง (ฉาน - เหนือ)


ลักษณะ

ไม้ต้นสูง 5 - 13 เมตร เปลือกเรียบ สีเทา ใบประกอบแบบขนนก 2 - 3 ชั้น ออกตรงข้ามถี่ๆ ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อย่อย มีใบ 3 - 7 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 3 - 9 ซม. ยาว 4 - 14 ซม. ปลายแหลมโคนสอบ ดอก ด้านนอกสีม่วงแดง หรือน้ำตาลคล้ำ ด้านในสีเหลืองปนน้ำตาล ถึงชมพู ออกดอกเป็นช่อขานดใหญ่ที่ยอด และปลายกิ่ง ยาว 40 - 150 ซม. กลีบดอกหนา เชื่อมกันเป็นหลอดรูปกรวย ยาว 7 - 10 ซม. ปลายแยก 5 กลีบ ขอบกลีบย่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 7 ซม. เกสรตัวผู้ 5 อัน หลอดเกสรตัวเมียสีม่วง ยาว 4 - 6 ซม. ผลเป็นผักแบนยาวคล้ายดาบห้อยอยู่เหนือเรือนยอด กว้าง 6 - 10 ซม. ยาว 45 - 120 ซม. มีกลีบเลี้ยงแข็งมากติดที่ขั้วฝัก เมล็ดแบน จำนวนมาก มีปีกบางใส


ส่วนที่ใช้ประโยชน์

ราก บำรุงธาตุ แก้บิด เจริญอาหาร เปลือกเป็นยาสมานแผลขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้จุกเสียด ฝักอ่อน ขับลม บำรุงธาตุ เมล็ดเป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

เพชรสังฆาต


ชื่อพื้นเมือง พญาร้อยปล้อง สันชะอวด สันชะฆาต ขันข้อ


ลักษณะทั่วไป

เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย ลำต้นเป็นปล้องๆ มีสีเหลี่ยม แต่ละปล้องหรือข้อจะยาวประมาณ 10 ซม. ตามข้อจะมีมือสำหรับจับหรือเกาะ ผิวของเถาเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นก็จะเลื้อยพันตามต้นไม้ และแตกกิ่งก้าน สาขามากแล้วห้อยเป็นพุ่ม มีใบสีเขียวแตกออกตรงข้อ ข้อละ 1 ใบ คล้ายใบตำลึง ขอบใบอ่อนมีสีแดงและเป็นหยักห่าง ๆ ปกติไม่ค่อยมีใบมากนัก ยอดอ่อนที่แตกออกใหม่มีสีแดงเรื่อ ๆ ออกดอกเป็นช่อติดกับเถาเป็นกระจุ ผลเป็นพวงแต่ละเม็ดโตขนาดเท่าลูกเดือย ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีแดง ลูกจะมีสีดำ เพชรสังฆาตมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาอาหรับ และอินเดีย


ประโยชน์

แก้ริดสีดวงทวาร แก้กระดูกแตก หัก ซ้น และขับลมในกระเพาะ แก้โรคลักปิดลักเปิด นิยมนำเพชรสังฆาต มาใช้ในการรักษาริดสีดวงทวาร แต่จะรักษาได้ดี ในระยะที่อาการยังเป็นไม่มาก ถ้าเป็นมานานแล้วการรักษาอาจจะไม่ดีเท่าไรนัก_ ขยายพันธุ์ เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรที่ปลูกง่าย เพียงหักเอาข้อไปปักชำ ไม่นานก็จะเริ่มงอกราก และผลิใบ หรือเพราะพันธุ์โดยใช้เมล็ด โดยนำเมล็ดไปเพาะกล้า แล้วแยกไปปลูก

ทองพันชั่ง


ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่


ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อนมักมีขนปกคลุมใบรูปคล้ายรูปไข่หรือวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกกิ่งยาวประมาณ 10 ซม. แต่ละดอกมีสีขาว ผลใหญ่ประมาณ 1 ซม. ผลเป็นผลแห้งแตกได้ มักมีขน


การขยายพันธุ์ : ใช้ปักชำ ตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ข้อปลิดใบทิ้งแล้วนำไปปักชำในดินที่ชุ่มชื้นให้กิ่งเอียงเล็กน้อยขึ้นได้ในดินทั่วไป


สรรพคุณ : รักษาโรคผิวหนัง (ชนิดกลาก เกลื้อน) ทาแก้กลากเกลื้อน การที่ทองพันชั่ง สามารถรักษากลากเกลื้อนได้ เพราะน้ำยาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อนได้


ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด รากสด


ขนาดและวิธีใช้ :
ดับพิษไข้, รักษาโรคผิวหนัง, ริดสีดวงทวารหนัก, แก้ไอเป็นเลือด, ฆ่าพยาธิ นำใบหรือรากประมาณ 1 กำมือ ต้มรับประทาน เช้าเย็นทุกวัน
รักษากลาก เกลื้อน ใช้ใบ หรือรากตำให้ละเอียด แช่เหล้าโรงพอท่วมไว้ 7 วัน ใช้น้ำยาทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
แก้โรคปัสสาวะบ่อย เอา ต้น ใบ ดอก ก้าน ราก ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง ต้มให้เดือด ใช้ดื่ม

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

บอระเพ็ด


ชื่ออื่น : เครือเขาฮอ จุ่งจิง เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู


รูปลักษณะ ไม้เถาเลื้อยพัน เถามีขนาดใหญ่ มีปุ่มปมมาก ทุกส่วนมีรสขมมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้างและยาว 6-10 ซม. ดอกช่อ ออกตามเถา และที่ซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก ไม่มีกลีบดอก ผล เป็นผลสด ค่อนข้างกลม


สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา


เถา - ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยนำเถาสดขนาดยาว 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ต้มคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีไข้ นอกจากนี้ใช้เป็นยาขมเจริญอาหารด้วย

ฟ้าทะลายโจร


ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชที่ชาวอินเดียและจีนใช้เป็นยามาแต่โบราณเพิ่งจะเป็นที่นิยมในเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้ โดยใช้เฉพาะใบหรือทั้งต้นบนดิน เป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้หรือเป็นยาขม เจริญอาหาร


ฟ้าทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-60 เซนติเมตร ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยวเรียบตรงข้ามสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง และซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว ผลเป็นฝักสีเขียวอมน้ำตาล เมื่อผลแก่จะแตกดีดเมล็ดออกมา


การใช้ประโยชน์ทางยา

1. การรักษาอาการเนื่องจากหวัด ที่ไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

2. บรรเทาอาการไข้และเจ็บคอ

3. บรรเทาอาการอุจจาระร่วง


สรรคุณและวิธีใช้
1. แก้อาการท้องเดินใช้ทั้งต้นแห้ง หั่นเป็นชิ้นพอประมาณ 1 - 3 กำมือ (3 - 9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม

2. แก้ไข้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือเวลามีอาการ

กระเทียม


ชื่อท้องถิ่น : หอมเตียม (ภาคเหนือ) เทียน หัวเทียน (ภาคใต้) กระเทียมขาว หอมขาว (อุดรธานี)กระเทียม(ภาคกลาง)


ลักษณะ : กระเทียม เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่าหัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่น เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะบางครั้งในหัวมีกลีบเดียว เรียกว่ากระเทียมโทน หัวค่อนข้างกลมใบยาวแบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ ดอกสีขาวเหลืองอมชมพูม่วงผลมีขนาดเล็ก


รสและสรรพคุณยาไทย » รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร


วิธีใช้ »
แก้อากาท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ถ้ารับประทานกะเทียมดิบๆครั้งละประมาณ 5-7 กลีบ หลังอาหารจะสามารถช่วยได้ รักษากลาก เกลื้อนโดยการฝานหัวกระเทียมเอามาถูเบาๆหรือโขลกคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็น

พริกไทย


ชื่ออื่น : พริกน้อย

รูปลักษณะ : ไม้เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อ เพื่อใช้ยึดเกาะข้อโป่งนูน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 8-11 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสมบูรณืเพศ สีขาวแกมเขียว ผลสด กลม จัดเรียงตัวแน่นอยู่บนแก้ม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง


สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา


พริกไทยเป็นเครื่องเทศ ใช้แต่งกลิ่นรสและช่วยถนอมอาหาร ผล - ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท พบว่าผลมีน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์ piperine


พริกไทยที่มีขายในท้องตลาดมี 2 ชนิด คือ

- พริกไทยดำ เป็นผลแก่แต่ยังไม่สุก นำมาตากแห้ง

- พริกไทยล่อน ได้จากผลสุกที่นำมาแช่น้ำ เพื่อลอกเปลือกชั้นนอกออก แล้วจึงตากให้แห้ง

กล้วย


ชื่อสามัญ : BANANA

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลกล้วยห่าม ฝานตากแดด ให้แห้ง บดเป็นผง จะใช้ กล้วยหักมุกห่ามแทน ยิ่งดี


ขนาดและวิธีใช้

ใช้ผล กล้วยห่าม 3 - 4 ช้อนชา หรือ 5 - 7 กรัม ผสมน้ำหรือน้ำผึ้ง หนึ่ง ถึง สอง ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และ ก่อนนอนสรรพคุณ- ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผล ใน กระเพาะอาหาร การที่ ผงกล้วยดิบ สามารถ ป้องกัน การเกิด แผลในกระเพาะอาหาร ได้ เพราะในกล้วย จะมีสาร ไปกระตุ้น ให้เซลล์ใน เยื่อบุกระเพาะ หลั่งสารMUCIN ออกมา ช่วยเคลือบกระเพาะ - รักษา อาการ ท้องเสีย การที่กล้วยห่าม สามารถ แก้อาการ ท้องเสีย ได้ เพราะมี สารแทนนิน

ข้อเสนอแนะ

รับประทาน กล้วยดิบ แล้ว ถ้ามีอาการ ท้องอืดเฟ้อ ป้องกัน โดยใช้ กล้วยดิบ ร่วมกับขิง หรือกระวาน

ใบบัวบก

ชื่ออื่น : ผักแว่น ผักหนอก
รูปลักษณะ ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ

เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ
ชื่ออื่น แก้มหมอ จะเกร็ง อีเกร็ง
สรรพคุณลูก เมล็ดทั้งต้น ใบ
รสเผ็ดร้อน รับประทานขับโลหิตระดู แก้ฝีรสเผ็ดร้อน ขับพยาธิรสเค็มกร่อย รับประทานแก้พิษฝีดาษ แก้ฝีภาย ใน แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ต้มอาบแก้พิษ ไข้หัว แก้ผื่นคัน ตำพอกปิดหัวฝี แผลเรื้อรัง ตำ คั้นเาอน้ำทาศีรษะ บำรุงรากผม รับประทานเป็น ยาอายุวัฒนะรสเค็ม แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ประดง แก้ฝีทั้ง ภายนอก ภายใน
ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ
๑. อายุวัฒนะ เอาต้นเหงือกปลาหมอ ๒ ส่วน พริกไทย ๑ ส่วน บด เป็นผงละลายน้ำผึ้งปั้นลุกกลอน กินเช้าเย็น ก่อนอาหาร จะหายจาก โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง แก้ลม ๑๒ จำพวก แก้ริดสีดวง ๑๔ จำพวก มี กำลังวังชา ผิวพรรณงดงาม มีเลือดฝาด
๒. แก้ริดสีดวงงอก ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง ๕ โขลกรวมกับหัว ขมิ้นอ้อย เอามาผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือปัสสาวะเด็กผู้ชาย อายุ ไม่ เกิน ๓ ขวบ ทาตรงที่งอกหลายๆครั้ง ก็จะหายไปเอง
๓. แก้เจ็บรา ตาแดง ตาฝ้า ต้าฟาง ตาต้อ ใช้ต้นเหงือกปลา หมอทั้ง ๕ โขลกรวมกับหัวขิง หนักเท่าๆกัน คั้นเอาน้ำหยอดตา อาการ จะค่อยๆบรรเทาลง สุดท้ายก็จะหายสนิท
๔. แก้เหน็บชาทั่วร่างกาย ใช้ต้นเหงือกปลาหมอทั้ง ๕ เอามา โขลกให้ละเอียด ทาหรือพอกบริเวณที่เจ็บหรือชา อาการจะหายไปหมด สิ้น
๕. แก้มะเร็งผิวหนังแตกทั้งตัว ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง๕ พริก ขี้หนู ดีปลี อย่างละ ๒ บาท เท่าๆกัน บดผง ละลายน้ำร้อน รับประทาน ทุกวัน โรคก็จะหาย
๖. แก้ปวดหลัง ปวดเอว ใช้ต้นเหงือกปลาหมอทั้ง ๕ กับ ชะเอมเทศ โขลกหรือบดเป็นผง ละลายกับน้ำร้อน แล้วรับประทานทุก วัน อาการที่เป็นอยู่จะหายไป
๗. แก้อาการหน้ามืด ตามัวบ่อยๆ ให้ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง ๕ กะเพราทั้ง ๒ เจตมูลเพลิง ทองหลางใบมน(เอาแต่ใบ) บดระเพ็ด แสมสาร อย่างละเท่าๆกัน หนัก ๑ บาท โขลกรวมกัน ให้ละเอียด ควัก เอามาปิดไว้บนกระหม่อมของผู้ป่วย แล้วเอาเหล็กมาเผาไฟให้ร้อนจัด วางทับลงไปบนตัวยานั้นอีกชั้นหนึ่ง แล้วอาการที่เป็นอยู่จะพลันหายไป
๘. แก้บวม ช้ำ แก้ฝี ใช้เหงือกปลาหมดทั้ง ๕ และขมิ้นอ้อย อย่าง ละเท่าๆกัน โขลกให้ละเอียด ทาหรือแปะไว้ตรงฝี จะค่อยๆยุบหายไป

แห้วหมู


แห้วหมู

ชื่อสามัญ : Nutgrassชื่ออื่น : หญ้าขนหมู

ลักษณะ : แห้วหมูเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 20-40 ซม. มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายหัวแห้วไทย แตกแขนงลำต้นเป็นเส้นแข็งเหนียวอยู่ใต้ดินและงอกเป็นหัวใหม่ได้ ใบเดี่ยว จำนวนมาก แทงออกจากหัวกว้าง 2-6 มม. ยาว 5-20 ซม. ดอกช่อ คล้ายดอกหญ้า สีน้ำตาลแดง แตกแขนงเป็น 4-10 กิ่ง ก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยมตรง ผลเป็นผลแห้ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ

มะนาว


มะนาว

ชื่อสามัญ : Limeชื่ออื่น : ส้มมะนาว

ลักษณะ : มะนาวเป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี

ตะไคร้


ตะไตร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf

ชื่ออื่น : ชื่อสามัญ : Lemon Grassชื่ออื่น : จะไคร ไครลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : โคนกาบใบและลำต้นทั้งสดและแห้งมีน้ำมันหอมระเหย ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย

ขิง


ขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe

ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ขับลม ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบว่าสารที่มีรสเผ็ด ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.

ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น

ลักษณะ : ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้

กระเพรา


กระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.


ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง


ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

กระชาย


กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร