วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

รางจืด


ปัจจุบันนี้ ปัญหาสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้มีจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นผลให้ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ในภายหลัง
การล้างพิษสามารถทำได้โดยการกินอาหารที่มีแอนติออกซิแดนต์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระให้มาก เช่น ผัก ผลไม้ ผักใบเขียวๆ มะละกอ แครอต ตำลึง ฯลฯ สมัยก่อนชาวบ้านมักจะเชื่อว่า รางจืด, ว่านจืด, ข่าจืด ช่วยล้างพิษได้ แต่ที่นิยมมากที่สุดขณะนี้คือ รางจืด สรรพคุณรางจืดตามตำรายาไทยกล่าวไว้ว่า "รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ใช้แก้พิษเบื่อเมาเนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อประเภทยาสั่ง v สำหรับคนที่เป็นนักดื่มสุราย่อมรู้ดีว่ารางจืดช่วยถอนพิษสุราได้ สิ่งที่ยอมรับคือ หากดื่มสุราจัดเกินขนาดแล้วเกิดอาการเมาค้าง รางจืดช่วยถอนอาการเมาค้างได้แน่ นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังแจ้งผลการใช้มาว่าแก้พิษได้อีกหลายอย่าง เช่น สุนัขโดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาได้ โดยเจ้าของคั้นน้ำรางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยาก็มักแก้ด้วยรางจืดเช่นกัน v รางจืด เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษเคมี พิษเบื่อเมา พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ไข้ร้อนใน ฯลฯ ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใบชา หรือถุงชาในแพ็กเกจสวยหรูดูดี และยังทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป ซึ่งเป็นของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ราคาย่อมเยา สามารถชงดื่มได้ทันที ใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้งหอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ
ชารางจืดไม่มีพิษ ดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน ใบสดนำมาคั้นกับน้ำเพื่อให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลงดื่ม เป็นการปฐมพยาบาลก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกันก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง ในทางกลับกันสมุนไพรรางจืดนี้ซึ่งหาได้ง่ายในแถบชนบทอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถนำใบรางจืดมาต้มทำเป็นชารางจืด ดื่มแทนน้ำธรรมดาเพื่อให้ทำลายและขับพิษสารเคมีไม่ให้ตกค้างในร่างกาย โดยพิษของยากำจัดศัตรูพืชจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
สำหรับความเชื่อในวงเหล้า ที่นำรางจืดมาเคี้ยวเพื่อดับฤทธิ์เอทิลแอลกอฮอล์ เพื่อทำให้ดื่มได้นานไม่เมานั้น ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อนและไม่แนะนำให้ปฏิบัติด้วย เพราะสุดท้ายเมื่อเหล้าเข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปทำลายอวัยวะที่เป็นทางผ่านทั้งหมดและทำลายที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนักที่สุด ตับจึงได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันไปเกาะแทนที่ ทำให้เกิดตับอักเสบเนื่องจากการคั่งของไขมัน ทำให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นไปอีก และเมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่ง ก็จะมีพังผืดไปขึ้นที่บริเวณนั้นลักษณะคล้ายแผลเป็น ส่งผลให้เนื้อตับที่เคยอ่อนนุ่มกลับแข็งตัวขึ้น เกิดอาการตับแข็งได้ในที่สุด โอกาสเสียชีวิตมีเร็วขึ้น

รางจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia lauriflolia Linn. โดยมีชื่ออื่นว่า ยาเขียว, เครือเขาเขียว, กำลังช้างเผือก, หนามแน่, ย้ำแย้, น้ำนอง, คาย, ดุเหว่า, รางเย็น, ทิดพุด, แอดแอ, ขอบชะนาง
วิธีใช้ :

ใบรางจืดที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป โขลกให้แหลกผสมน้ำซาวข้าว คั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำใบรางจืดมาหั่นฝอย ผึ่งลมให้แห้ง ใช้ชงน้ำร้อนดื่ม

รากรางจืด (อายุ 2 ปีขึ้นไป) นำมาโขลก/ฝน ผสมน้ำซาวข้าวใช้ดื่ม หรือนำรากรางจืดมาหั่นฝอย ผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผง บรรจุแค๊ปซูลหรือทำเป็นเม็ด รับประทานครั้งละ ประมาณ 5 กรัม